วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

โทษของขนมขบเคี้ยว


                  
                      ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าขนมมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเด็กซึ่งมักเป็นหนึ่งในหลายๆ อย่างที่ผู้ใหญ่นำมาใช้ล่อหลอกหรือเป็นเครื่องต่อรอง หรือให้รางวัลกับเด็ก มองถึงความสำคัญของขนม แล้วดูจะมีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับอาหารหลัก 3 มื้อ ขนมส่วนใหญ่มักทำจากแป้ง น้ำตาล ไขมัน ซึ่งให้เพียงพลังงาน ควรจะเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ แต่พบว่าเด็กกลับรับประทานมากและนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ เด็กที่รับประทานอาหารหลัก 3 มื้อได้มาก และยังเพิ่มขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะขณะดูทีวี ก็จะนำมาซึ่งโรคอ้วน ในเด็กที่น้ำหนักน้อยขนมขบเคี้ยวจะยิ่งทำให้การรับประทานอาหารมื้อหลักลดลง ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า
                       การศึกษาของ สสส.พบว่าค่าขนมของเด็กไทยใช้จ่ายมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท/ปี ชึ่งเท่ากับงบประมาณของ 6 กระทรวง นับเป็นการสูญเสียอย่างมากมาย และรายงานว่า 65% ของค่าขนมเด็กใช้ไปในการซื้อขนมกรุบกรอบ
                       การศึกษาในภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในเขตชนบทพบว่าขนมขบเคี้ยวที่เด็กรับประทานคิดเป็นพลังงานถึงร้อยละ 20 ของพลังงานที่ควรได้รับประจำวันซึ่งสูงพอสมควร และไปแทนที่อาหารหลัก 5 หมู่ ที่มีประโยชน์มากกว่า
                       ขนมอาหารว่างเด็กที่มีขายในขณะนี้ ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ทอฟฟี่ เวเฟอร์ ขนมปัง คุกกี้ เค้ก ปลาหมึกอบกรอบไอศครีม เจลลี่ น้ำอัดลม น้ำหวาน และขนมไทย
                       ในทางโภชนาการ "ขนม" ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หมายถึง ขนมที่มีส่วนประกอบของสารอาหารครบ 5 หมู่ คือ มีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เพิ่มจากแป้ง น้ำตาล ไขมันที่มีอยู่ เนื่องจากในขนมกรุบกรอบส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล ไขมัน ผงชูรส เกลือ ซึ่งให้เพียงพลังงานและอาจเป็นโทษกับร่างกายจากผงชูรส และเกลือ
                       ถ้าพิจารณาจะให้ขนมที่มีคุณค่าและมองในภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนมไทย น่าจะมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่า ตัวอย่าง ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง ข้าวต้มมัด ถั่วแปบ ขนมเหล่านี้รสไม่หวานจัด มีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร ถั่วงา มีโปรตีน และแคลเซียม ผลไม้ ส้ม กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร

                 ขนมที่ควรหลีกเลี่ยง

1.ขนมกรุบกรอบได้รับความนิยมสูงมักทำจากแป้ง มันฝรั่ง เกลือ ไขมัน และผงชูรส แต่งกลิ่น รส สี รสชาติส่วนใหญ่จะคล้ายกัน คือ หวาน มัน เค็ม สำหรับแป้ง น้ำตาลไขมันจะให้พลังงาน รับประทานมากเกินไปจะทำให้อ้วน และเป็นสาเหตุของโรคฟันผุในเด็ก เกลือ มีผลต่อสุขภาพ ทำให้ไตทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ไตวาย ผงชูรส มีผลเสียต่อสุขภาพ มีโซเดียมเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเกลือแกง อาจทำให้มีความดันโลหิตสูง อาการแพ้ผงชูรส ได้แก่ ชาที่ปาก ลิ้น หน้า ร้อนวูบวาบ ผื่นแดงตามตัว แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก มีผลต่อระบบประสาท และสะสมนานๆ จะทำให้มีผลต่อประสาทตา การเกิดมะเร็ง ไตวาย

2.ขนมที่ใส่สีฉูดฉาด ถ้าไม่ใช่สีผสมอาหารจะเกิดเป็นโทษต่อร่างกาย เพราะจะมีโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว จะเป็นพิษต่อทั้งระบบประสาท ไต ฯลฯ

3.ลูกอม น้ำตาล หวาน ทำให้ฟันผุ

4.ขนมทุกชนิดที่ผสมกาแฟ มีคาเฟอีน ซึ่งกระตุ้นหัวใจทำให้ใจสั่นนอนไม่หลับ ปริมาณกาแฟพบสูงในลูกอมรสกาแฟ รองลงไปคือ ลูกอมสอดไส้ช็อกโกแลต คุกกี้รสกาแฟ เวเฟอร์ เค้ก ไอศครีม ตามลำดับ

5.เจลลี่ โดยเฉพาะที่ขนาดพอคำบรรจุเป็นถ้วยเล็กๆ เด็กบีบเข้าปากได้เลย พบอุบัติเหตุเด็กสำลักติดคอและเสียชีวิต มีประกาศห้ามขายแล้ว

6.น้ำอัดลม มีน้ำ น้ำตาล เจือสี แต่งกลิ่น รส และอัดแก๊สมีฤทธิ์เป็นกรด กินแล้วจะมีลมในกระเพาะทำให้ท้องอืด กรดกัดกระเพาะทำให้ปวดท้อง เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กที่นำมาพบกุมารแพทย์

7.ไอติมแท่ง มักเห็นในเขตปริมณฑล กรุงเทพฯ และในต่างจังหวัด มักใส่สีสดใส และที่สำคัญกรรมวิธีการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากสีที่อันตรายยังอาจปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

-เราควรบริโภค "ขนม" ที่มีคุณค่าในปริมาณมากน้อยขนาดไหน
ขนมที่มีคุณค่าก็ให้พลังงานจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเป็นของว่างเสริมระหว่างมื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน จากอาหารหลัก 3 มื้อ ช่วงสาย และช่วงบ่าย ถ้าเป็นผลไม้ประมาณ 1 ส่วนเสริฟ : กล้วยน้ำว้า 1 ผล ส้ม 1 ผล มะละกอ 5-6ชิ้นคำ ขนมไทยๆ รสไม่หวานจัด : ขนมกล้วย ขนมฟักทอง 1-2 ชิ้น ข้าวต้มมัด 1 กลีบ

-ผู้ปกครองจะแนะนำบุตรหลานอย่างไรให้เลือกขนมมีประโยชน์
ปัจจุบันสื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก กำลังโหมกระหน่ำและมุ่งเป้าสู่เด็กทุกวัย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ครอบครัว ผู้ปกครองจึงควรให้ความสนใจพินิจพิเคราะห์ในการเลือกขนม หรือให้คำแนะนำในการเลือกขนมกับบุตรหลาน หลักที่ควรคำนึง คือ 3 ป
.
1.ปลอดภัย กินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย ดูลักษณะทั่วไปสะอาดไม่มีสีฉูดฉาด บรรจุในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด การดูฉลากอาหาร เลขทะเบียน อย.วันผลิต วันหมดอายุ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์นั้นๆ และพลังงานที่ได้รับ อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีสารปนเปื้อนจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เชื้อจุลินทรีย์จะทำให้เกิดอาเจียน ท้องเสีย โลหะหนักมีผลต่อระบบประสาท ไต
2.ประโยชน์ เด็กมักรับประทานขนม เพราะความอยาก อร่อย ควรสอนให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบคุณค่าของขนมที่รับประทาน เช่น ขนมไทย ผลไม้ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์มากกว่าในด้านการให้วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และท้องไม่ผูก เมื่อเทียบกับขนมกรุบกรอบ ซึ่งจะได้รับพิษภัยจากเกลือ ผงชูรส
3.ประหยัด สอนให้เด็กรู้จักคิดก่อนซื้อว่าสิ่งที่ได้นั้นคุ้มค่ากับเงินที่จะจ่ายหรือไม่ เปรียบเทียบราคาในผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน

สรุป
-เลือกผลไม้แทนขนมกรุบกรอบ เลือกอาหารไม่ใส่สี หรือใช้สีธรรมชาติ
-เลือกอาหารโดยหลัก 3 ป. ปลอดภัย ประโยชน์ ประหยัด
-ฝึกวินัยให้เด็กรับประทานเป็นเวลา ไม่จุบจิบ พร่ำเพรื่อ


โดย รศ.พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ที่มา....www.matichon.co.th

ความรู้เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่



ระยะเบรก 
-ที่ความเร็ว 20 กม./ชม.  ระยะเบรกตองใชอยางนอยที่สุด คือ 7 เมตร 
-ที่ความเร็ว 40 กม./ชม.  ระยะเบรกตองใชอยางนอยที่สุด คือ 18 เมตร  
-ที่ความเร็ว 60 กม./ชม.  ระยะเบรกตองใชอยางนอยที่สุด คือ 34 เมตร  
-ที่ความเร็ว 80 กม./ชม. ระยะเบรกตองใชอยางนอยที่สุด คือ 54 เมตร 
-ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. ระยะเบรกตองใชอยางนอยที่สุด คือ 80 เมตร 



การทิ้งระยะหางจากรถคันหนา
   .... ตองทิ้งระยะหางจากรถคันหนาใหเหมาะสมกับความเร็วที่ใชเราสามารถพิจารณาอยางงาย ๆ
ไดโดยขับรถของเราดวยความเร็วที่คงที่เทากับรถคันหนา เมื่อคันหนาผานจุดหนึ่ง เชน หลักกิโลเมตรริมถนน  รถของเราจะตองผานจุดเดียวกันนั้นในเวลาไมตํ่ากวา  2   วินาที    (โดยนับหนึ่งพันหนึ่ง เมื่อรถคันหนาผาน  จุดเดียวกันนั้นและเมื่อเรานับหนึ่งพันสองรถเราจะผานจุดนั้นพอดี)   หากตํ่ากวานั้นแสดงวาเราท้ิงระยะหาง  จากรถคันหนานอยเกินไป  จะทําใหเบรกไมทัน  เมื่อรถคันหนาหยุดรถทันทีทันใด


การแซง

- เปนกฎตายตัววาจะตองแซงขึ้นทางขวาเสมอ
- เมื่อแซงผานขึ้นมาแลว  ใหขับรถเปนแนวตรงทิ้งระยะหางจากคันที่ถูกแซงพอสมควร  เพื่อใหรถที่ถูกแซงมีเวลาต้ังตัว
-อยากลับเขาเลนซายในลักษณะเลี้ยวตัดหนารถที่ถูกแซงอยางกระช้ันชิด  รักษาอารมณอยาใหฉุนเฉียวกับผูที่ขับรถคันอื่ ่ นทีอยูรอบขาง
- อยาเรงเครื่องแขงกับรถคันที่กําลังแซงอยู  ปลอยใหรถที่แซงผานไปโดยสะดวกแลปลอดภัย

- ถาทานถูกรถคันอื่นแซง  จงขับรถใหชาลงหรือเปดโอกาสใหเขาแซงโดยสะดวก
- เมื่อไดรับสัญญาณแซงขึ้นหนาจากรถคันหลัง  ผูที่ขับขี่ที่มีความเร็วชาหรือใชความเร็วตํ่ากวารถคันอื่นที่ขับไป  ในทิศทางเดียวกัน  ตองยอมใ หร ถ  คัน ที่ใ ชค ว  า ม เ  ร็ว สูง ก วา ผา น ขึ้น ห นา   
แ ล ะ ผูที่ขับ ขี่ที่ถูก ข อ ท า ง ตอ ง ป ฏิบั ิตดัง นี้  ใหสัญญาณเลี้ยวซายตอบ (เปดไฟเลี้ยวซาย  
ห รือ ใ หสัญ ญ า ณ ดว ย มือ แ ล ะ  แ ข น )  ลดความเร็ว   ขับรถชิดดานซายของทางเดินรถ  เพื่อใหรถที่แซงผานขึ้นหนาโดยปลอดภัย


การใชความเร็วตามกฎหมายจราจร

               รถยนตน่ังในเขต  กทม.  เขตเมือง  เขตเทศบาล  ความเร็วไมเกิน 80 กม./ชม. 
นอกเขตไมเกิน 90 กม./ชม.  
               รถกระบะนํ้าหนักรวมบรรทุกเกิน 1,200 กก.  ในเขตกทม.   เขตเมือง    เขตเทศบาล                                          
ความเร็วไมเกิน 60 กม./ชม.นอกเขตไมเกิน 80 กม./ชม.                                                                               
...หากมีปายกําหนดความเร็วอยูขางทางใหปฏิบัติตามปายกําหนด...



การขับขี่ในเวลากลางคื น 
- เปดไฟหนาเมื่อรูสึกวาทัศนวิสัย  เริ่มไมชัดเจน  ตองเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ใหมากขึ้นใชความเร็วใหตํ่าลงกวาปกติ  
- เมื่อไม ีมรถสวนมาในระยะสายตา  ควรใชไฟสูง  และลดไฟตํ่าลงทันทีเมื่อรถสวนมา
- พยายามขับรถใหชิดมาทางเสนแบงกึ่งกลางถนน  เพื่อหลีกเลี่ยงการชนคน  สัตว  รถจักรยานยนตหรือรถซึ่งจอดอยูขางถนนเพราะแสงไฟหนารถอาจมองเห็นไดไมชัดเจน



การขับขี่ผาสายฝน 
 - ใชความเร็วตํ่ากวาปกติ   เลือกความเร็วของที่ปดนํ้าฝน ใหเหมาะกับปริมาณฝนในระดับที่เรามองเห็นทางขางหนาไดชัดเจนที่สุด  
- เมื่อกระจกหนาสกปรก        ให ีฉดนํ้ายาลางกระจกใหสะอาดอยูเสมอ  หากมีคราบนํ้ามันติดบนกระจกจะทําใหการมองเห็นพลามัว      นํ้าฉีดลางกระจกที่ผสมนํ้ายาทําความสะอาดกระจก  จะชวยใหทัศนวิสัยดีึข้น  การหาที่แวะจอดรถเพื่อเช็ดถู  ทําความสะอาดกระจก  นาจะเปนทางเลือกที่ ีดกวาการทนขับไปอยางน้ัน กระดาษหนังสือพิมพ  จะทําใหการทําความสะอาดคราบนํ้ามันบนกระจกได ีดกวาผา
- เมื่อมีฝาเกาะบนกระจก  ควรเปดสวิตชไฟละลายฝา ถาไมมีควรปรับอุณหภูมิของแอรใหมีอุณหภูมิใกลเคียงกับภายนอกหรือเปดอากาศเขามาในรถ  จะชวยลดการเกิดฝาใหนอยลงได้



ขอปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน 
             เมื่อเกิดไฟซ็อตและสายไฟลุกไหม  ให ปดสวิตซกุญแจและอุปกรณไฟฟาทั้งหมดทันที  หาทางถอดขั้วแบตเตอรี่ขั้วใดก็ได ีท่ถอดงายที่สุดออกโดยเร็ว  ตรวจหาแหลงของการซ็อตหรือการลุกไหม  
พยายามทําการดับไฟที่ลุกไหมอยู   โดยใชนํ้ายาดับเพลิง   นํ้าหรือผาชุบนํ้าโปะใหไฟดับ
หมายเหตุ
             หามดึงหรือกระชากสายไฟดวยมือเปลา    เพราะสายไฟเหลานั้นอาจมีความรอนสูงมากจนทําใหเกิด การบาดเจ็บรุนแรงได้




ที่มา:http://j1.rtarf.mi.th/upload/upload_nanasara/12572364051257236405drive.pdf